10 Megatrends ที่คนทำธุุรกิจทางด้าน Beauty ต้องเรียนรู้

ธุรกิจที่ร้อนแรงในหมวดของ Health,Wellness, Beatuy & Fashion ในปี 2024 ที่มีมูลค่ามากกว่า 250,000 ล้านบาท อัตราการโตขึ้นโดยเฉลี่ยคาดการณ์กันว่า มากกว่า 6% ต่อปี มีความสำคัญของภาคธุรกิจทั้งการนำเข้าสินค้าและการผลิตไม่ว่าจะเป็น OEM ธุรกิจในหมวดนี้จำเป็นต้องดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ธุรกิจในหมวดนี้เติบโตรวมถึงการปรับตัว

5 ปัจจัยในการผลักดันในธุรกิจหมวดนี้เติบโต

ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจทางด้าน Beauty เติบโต
Source : Euromonitor International

5 ปัจจัยในการขับเคลื่อน ให้สินค้าในหมวดนี้เติบโต

  1. Shifting Economic Power : การเติบโตของเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้คนที่เริ่มมองหาสินค้าในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
  2. Technology : ความก้าวหน้าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยี สามารถตอบโจทย์ปัญหาของคนที่ต้องการได้
  3. Population Change : การยอมรับในสังคมกับการใช้สินค้าผลิตภัณฑ์ทุกกลุ่ม
  4. Social and Environmental Pressures : ความรู้สึกของสังคมในออนไลน์จากการติดตาม Influencer,ดารา,หรือศิลปินที่ชื่นชอบทำให้ต้องการสินค้าในกลุ่มเดียวกัน
  5. Changing Values : ความต้องการของสินค้ากลุ่มสุขภาพ,การดูแลตนเอง มีความเติบโต และต้องการสินค้านี้ในอนาคตเป็นจำนวนมาก

10 Megatrends ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าในหมวดนี้

  1. สินค้าในหมวด Wellness ทั้งสินค้าและบริการมีแนวโน้มของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพกายทุกกลุ่มผู้บริโภค
  2. Sustainable Living ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และมีพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะสนับสนุนสินค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นหลักจะเพิ่มมากขึ้น
  3. Experience More หมายถึงผู้บริโภคมองหาประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่ซื้อสินค้าหรือบริการ แต่ต้องการสัมผัสและรับรู้สิ่งใหม่ๆ
  4. Premiumisation คือแนวโน้มของผู้บริโภคที่ยินดีจ่ายในราคาที่สูงขึ้น เพื่อแลกกับคุณภาพและประสบการณ์ที่ดีกว่า
  5. Digital Living สะท้อนถึงการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคในโลกดิจิทัลมากขึ้น ทั้งการซื้อสินค้า ใช้บริการ และปฏิสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์
  6. Shopper Reinvented คือการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในยุคใหม่ ที่มีพฤติกรรมการช้อปปิ้งและค้นหาข้อมูลแตกต่างจากเดิม
  7. Pursuit of Value หมายถึงผู้บริโภคมองหาคุ้มค่าเงิน ไม่ใช่แค่ราคาถูก แต่ต้องการสินค้า/บริการที่ตรงตามความต้องการและคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย
  8. Personalisation คือการที่ผู้บริโภคต้องการสินค้า บริการ และประสบการณ์ที่ตรงตามความชอบและรสนิยมเฉพาะบุคคล
  9. Diversity and Inclusion สะท้อนถึงความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายทางเชื้อชาติ เพศ อายุ ซึ่งธุรกิจต้องคำนึงถึงความแตกต่างและมีกลยุทธ์ให้ครอบคลุม
  10. Convenience คือแนวโน้มของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึงสินค้าและบริการมากขึ้น

Keyfinding สำหรับมุมมองในการต่อยอดกับธุรกิจในหมวด Health & Beauty and Fashion

Source : Euromonitor International

  1. Wellness proliferates amid shifting consumer values and priorities

    แนวโน้มเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแพร่หลายมากขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของค่านิยมและความสำคัญของผู้บริโภค กลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จต้องสร้างความสมดุลระหว่างการเข้าถึงได้ง่าย ความแท้จริง ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ พร้อมเน้นความโปร่งใสของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ความคุ้มค่า และปรับผลิตภัณฑ์/บริการให้เข้ากับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้บริโภค
  2. Embedding emotion in driving both desirability and “happiness” outcomes

    การสร้าง “ความสุข” เป็นส่วนสำคัญของการสื่อถึงคุณค่าของสุขภาพ ควรมีส่วนผสมของอารมณ์ความรู้สึก ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส และวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมการรักษาด้วยเทคโนโลยีหรือสร้างผลิตภัณฑ์ก็ควรคำนึงถึงคุณค่าทางสังคม สร้างผลกระทบต่อผู้ด้อยโอกาส และการเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น
  3. Integration of advanced diagnostics for enhanced health prevention and personalisation

    ผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพกำลังเข้าสู่การปฏิวัติรูปแบบใหม่ด้วยการผสานเทคโนโลยีการวินิจฉัยระดับสูง การลงทุนเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย การบูรณาการเทคโนโลยีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ และการพัฒนาด้านงานวิจัยสุขภาพขั้นสูง รวมถึงเทคโนโลยีชีวการแพทย์และการยืดอายุ
  4. Focus on underserved female-centric solutions across the entire wellness ecosystem

    การมุ่งเน้นแก้ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงที่ด้อยโอกาสจำเป็นต้องมีการประเมินผลิตภัณฑ์ใหม่ การปรับข้อความสื่อสารให้ละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับสุขภาพกายและจิตใจ และนำตัวชี้วัดสุขภาพหลากหลายมาใช้ในการดูแลอย่างครบวงจร
  5. Value creation in health, beauty and fashion industries through more uniquely defined spaces

    ท่ามกลางตลาดที่อิ่มตัว การลงทุนเชิงกลยุทธ์ควรให้ความสำคัญกับการนิยามและสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ที่โดดเด่น ผสานมิติด้านอารมณ์ความรู้สึก พัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพเฉพาะบุคคล และโครงการด้านสุขภาพสตรี เพื่อสร้างคุณค่าและการรับรู้แบบใหม่ในอุตสาหกรรมสุขภาพ ความงาม และแฟชั่น

สรุปคือ ผู้ประกอบการต้องเข้าใจแนวโน้มและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับค่านิยมและความต้องการด้านสุขภาพที่เปลี่ยนไป โดยเน้นสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคแบบองค์รวม สร้างคุณค่าใหม่ๆ ในตลาด และมุ่งพัฒนาสินค้าบริการที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

Source : Euromonitor International

สนับสนุนโดย : Carebeau ผู้พัฒนาเครื่องสำอางค์เพื่อตอบโจทย์กับผู้บริโภคยุคใหม่
สนับสนุนโดย : Zocial Eye ผู้พัฒนา Social Listening อันดับ 1 ของประเทศไทย

ขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านบทความในการวิเคราะห์ในมุมมองอื่น ๆมากขึ้น
พี่อ้วนสายมู
www.idea2mobile.com